ดูบทความ
ดูบทความรอบวันสถานการณ์โลก มิถุนายน 2022
รอบวันสถานการณ์โลก มิถุนายน 2022
รอบวันสถานการณ์โลก มิถุนายน 2022
... ร่วมพูดคุยติดตามข่าวสารสำคัญได้ที่ ห้องไลน์ “สถานการณ์โลก”
อังคาร 28 มิถุนายน
อิหร่านยื่นหนังสือขอเข้ากลุ่ม BRICS อย่างเป็นทางการแล้ว (Al Jazeera)
มีข่าวว่าอาร์เจนตินาแสดงเจตจำนงแล้วเช่นกัน
วิเคราะห์ : คาดว่าจะมีอีกหลายประเทศที่จะเข้าร่วม
ยูเครนมีโอกาสชนะสงครามมากขึ้น หลังสหรัฐฯ ซื้อระบบขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ NASAMS ให้ (Channel News Asia)
พื้นฐานของ NASAMS ใช้ขีปนาวุธ AIM-120 AMRAAM รัศมี 30 กม. ชาติสมาชิกนาโตหลายประเทศใช้ระบบนี้อยู่
วิเคราะห์ : ยูเครนจะต้องสามารถสกัดขีปนาวุธรัสเซียให้ได้ จากนี้ต้องติดตามว่าระบบที่ส่งให้ใช้การได้แค่ไหน … ส่อว่าสงครามจะยืดเยื้อต่อไป
#สงครามยูเครน #น้ำมันแพง #แพงทั้งแผ่นดิน
ยุน ซอก-ยอล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้เดินทางถึงสเปนเพื่อร่วมประชุมสุดยอดนาโตแล้ว (The Korea Times)
รอบนี้นาโตเชิญบางประเทศที่ไม่เป็นสมาชิกเข้าร่วมประชุมประเด็นความมั่นคงต่างๆ เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
นาโตขยายกองทัพพร้อมรบ 3-4 แสนนาย ส่วนหนึ่งจะประจำการประเทศแถบยุโรปตะวันออก (CBS News)
วิเคราะห์ : นับจากเกิดสงครามยูเครน สหรัฐฯ กับพวกส่งกองทัพเข้าไปในประเทศยุโรปตะวันออกมากขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าจะอยู่ยาว เหมือนกรณีเกาหลีใต้กับญี่ปุ่นที่มีฐานทัพสหรัฐฯ ตั้งอยู่หลายทศวรรษและไม่มีท่าทีว่าถอนกลับ ดังนั้นสงครามยูเครนกลายเป็นเหตุให้นาโตสามารถตั้งฐานทัพเพิ่มเติมในอีกหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่เป็นกองกำลังใหญ่ที่สุดในขณะนี้
#ฐานทัพสหรัฐในต่างแดน #ทัพนาโตประชิดชายแดนรัสเซีย
G-7 ประกาศกร้าวจะไม่ยอมรับเส้นพรมแดนที่รัสเซียลากขึ้นใหม่ด้วยใช้กำลัง (Kyodo News)
วิเคราะห์ : ท่าทีรัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เดี๋ยวยอมให้ยูเครนเสียดินแดนเดี๋ยวไม่ยอม
#สงครามยูเครน #น้ำมันแพง #แพงทั้งแผ่นดิน
จันทร์ 27 มิถุนายน
ชาติอียูหลายประเทศกำลังเร่งหาทางเพิ่มใช้ถ่านหินอย่างเร่งด่วน ทดแทนก๊าซรัสเซีย (RT)
ประเทศที่ประกาศตัวชัดเจนแล้วได้แก่ เยอรมัน ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ หวังว่าจะไม่ขาดแคลนพลังงานในหน้าหนาวนี้
#สงครามยูเครน #น้ำมันแพง #แพงทั้งแผ่นดิน
ตุรกีจะไม่คว่ำบาตรรัสเซียตามแนวทางชาติตะวันตก จะดำเนินนโยบายอย่างสมดุล (TASS)
โฆษกประธานาธิบดีตุรกีกล่าวว่า ทุกประเทศมีผลประโยชน์ของตนที่ต้องดูแล ถ้าคว่ำบาตรรัสเซียเท่ากับทำลายเศรษฐกิจตัวเอง ตุรกีมีแนวทางของตนเองไม่ว่าชาติตะวันตกจะรับได้หรือไม่ก็ตาม
วิเคราะห์ : ถ้าตุรกีไม่ปฏิบัติตามแนวทางนาโต ชาติสมาชิกอื่นๆ ย่อมทำได้เหมือนกัน อยู่ที่ว่าจะเลือกทางไหนเท่านั้น …
รัฐบาลทุกประเทศรู้ดีว่ายิ่งทำศึกนานเศรษฐกิจสังคมจะยิ่งพัง ... แต่ทำไมตัดสินใจสงบศึกอยาก ผมได้อธิบายไว้แล้ว ..
อ่าน ...
#สงครามยูเครน #น้ำมันแพง #แพงทั้งแผ่นดิน
2 ประเด็นสำคัญที่ไบเดนเผชิญในสมรภูมิยูเครน
การศึกในยูเครนไม่ใช่เรื่องที่อยากเลิกก็เลิกได้ทันที เพราะสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญยิ่งกว่าความเป็นไปของยูเครนที่มหาอำนาจไม่อาจสูญเสีย
http://www.chanchaivision.com/2022/06/Biden-Ukraine-War.html
โลกกำลังเข้าสู่วิกฤตอดยากอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน (“unprecedented global hunger crisis”) (Tuoi Tre News)
Antonio Guterres เลขาธิการ UN กล่าวย้ำขอให้เตรียมตัวรับมืออาหารแพงทั่วโลก
วิเคราะห์ : คำเตือน “อาหารแพง” ออกมาเรื่อยๆ นะครับ ไม่ว่าจะระดับประเทศหรือบุคคลต้องเตรียมรับมืออย่างเร่งด่วน
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
รัฐบาลไบเดนขอ G-7 ระดมเงินเพื่อการลงทุน 600,000 ล้านดอลลาร์แข่งกับ “สายแถบและเส้นทาง” ของจีน (Bloomberg)
วิเคราะห์ : ช่วยให้แต่ละประเทศมีทางเลือกมากขึ้น อย่างไรก็ตามต้องติดตามต่อว่าระดมเงินได้ตามเป้าหรือไม่ นานาประเทศให้ความสนใจแค่ไหน บางครั้งการรับเงินช่วยเงินลงทุนต้องมี “ข้อแลกเปลี่ยนลับ” กับประเทศเจ้าของเงิน แม้ประเทศเจ้าของเงินจะเป็นทุนนิยมเสรีก็ตาม
#ไม่มีของฟรีในโลก #เงินลงทุน
อาทิตย์ 26 มิถุนายน
แวะมาส่งบทความครับ ...
2 ประเด็นสำคัญที่ไบเดนเผชิญในสมรภูมิยูเครน
การศึกในยูเครนไม่ใช่เรื่องที่อยากเลิกก็เลิกได้ทันที เพราะสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญยิ่งกว่าความเป็นไปของยูเครนที่มหาอำนาจไม่อาจสูญเสีย
สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่
https://storage-wp.thaipost.net/2022/06/26-6-65.pdf
บทความของผมจะอยู่หน้า 5
หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่
https://www.thaipost.net/columnist-people/168893/
#สงครามยูเครน #ยูเครนจบอย่างไร
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
http://www.chanchaivision.com/2022/06/Biden-Ukraine-War.html
เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์
ศุกร์ 24 มิถุนายน
ข้อมูลจาก Berlin summit (ประชุมอาหารโลก) ชี้โลกต้องรับมืออาหารแพงอย่างน้อย 2 ปี (The National News)
แม้สงครามยูเครนจะหยุดพรุ่งนี้ อาหารโลกจะแพงอีกอย่างน้อย 2 ปี ตอนนี้ UN กำลังประชุมอย่างรีบเร่งรับมือสถานการณ์ ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาห่วงโซ่อุปทาน การฟื้นฟูเกษตรกรรมยูเครนต้องใช้เวลา
วิเคราะห์ : ตอนนี้เริ่มเห็นตรงกันมากขึ้นแล้วว่าผลกระทบจากสงครามยูเครนจะยืดยาวนานและรุนแรงกว่าที่คาด ที่แน่ๆ คือไม่ใช่วันนี้เลิกสงครามแล้วพรุ่งนี้จะกลับมาเป็นปกติทันที สิ่งที่ทุกประเทศและทุกคนควรทำคือเตรียมตัวรับมือสถานการณ์ที่อาจยาวอย่างน้อย 2 ปี
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
Robert Habeck รมต.เศรษฐกิจเยอรมันคาดปลายปีประเทศอาจต้อง “ปันส่วน” ก๊าซ (Al Jazeera)
วิเคราะห์ : โลกมีน้ำมันก๊าซธรรมชาติไม่ขาดแคลน แต่ที่บางประเทศขาดเพราะเปลี่ยนผู้ซื้อผู้ขายกระทันหัน
ราคาน้ำมันในภาวะปกติกับปัจจุบัน
ข้อ 1 ราคาน้ำมันในภาวะปกติ ... แถว 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
คำว่า “ในภาวะปกติ” ต้องย้อนไปตั้งแต่ก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19
31 ธันวาคม 2019 จีนแจ้ง WTO ว่าพบโควิด-19 ณ วันนั้นราคา WTI อยู่ที่ 63 ดอลลาร์
ถ้าจะคิดค่าเฉลี่ยทั้งปี (ตามกราฟสีเขียว ราคาเฉลี่ยปี 2019 จะอยู่แถว 60 ดอลลาร์) นี่คือราคา “ในภาวะปกติ” จริงๆ
ข้อ 2 ช่วงโควิด-19 ระบาด หลายกิจการปิดตัว Work From Home
การบริโภคน้ำมันลดลงมาก (ตามกราฟสีเหลือง) ช่วงราคาต่ำสุดๆ WTI ลงไปอยูที่ 25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ข้อ 3 โหมโรงสงครามยูเครน
ทุกคนรู้ว่ากองทัพรัสเซียบุกยูเครนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2022 แต่ความจริงคือประเด็นความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนเริ่มปะทุอีกครั้งตั้งแต่เมษายนปีที่แล้ว (2021) มีการพูดตอบโต้ระหว่างยูเครน-นาโต-รัสเซีย
แต่สื่อส่วนใหญ่ให้ความสนใจเมื่อเข้าปลายปี 2021 เมื่อรัสเซียส่งกองทัพประชิดชายแดน (ตอนนั้นราคาน้ำมันอยู่ที่ 70-80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล)
รัสเซียเริ่มระดมพล ส่งกองทัพประชิดชายแดนยูเครนมากขึ้นจากหลักหมื่นเป็นแสน ซ้อมรบครั้งแล้วครั้งเล่า (เหตุการณ์ช่วงนี้กินเวลาหลายเดือนก่อนบุกยูเครนจริง)
ต้องเข้าใจว่าเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ ทั่วโลก บรรยากาศตึงเครียด ล้วนส่งผลต่อราคาน้ำมันทั้งสิ้น (ทั้งๆ ที่การใช้-การส่งน้ำมันยังเป็นปกติ) ส่วนหนึ่งมาจากการเก็งกำไรในตลาด
ดังนั้น ปัจจัยความขัดแย้งยูเครน-รัสเซียส่งผลต่อราคาน้ำมันอย่างชัดเจนตั้งแต่ปลายปี 2021 แล้ว (เริ่มต้นกราฟเส้นแดง)
ข้อ 4 สงครามยูเครนและการคว่ำบาตร
กองทัพรัสเซียบุกยูเครนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2022 มาตรการที่นาโตประกาศตั้งแต่ต้นคือจะไม่ส่งทหารเข้าปะทะกับรัสเซียโดยตรง แต่ใช้วิธีคว่ำบาตร
และอย่างที่ทุกคนเห็นมาตรการหลักที่ใช้คือคว่ำบาตรระบบการชำระเงินรูเบิลและพลังงานฟอสซิล
ตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามจนขณะนี้ ปริมาณการโภคน้ำมันแทบไม่เปลี่ยนแปลง “โลกใช้เท่าเดิม แต่ที่ราคาสูงจาก 60 จนเกิน 100 เพราะการคว่ำบาตรโดยแท้”
และคาดว่าจะเป็นเช่นนี้อีกนานหลายปี เพราะต้นทุนการส่งน้ำมันจากผู้ขายสู่ผู้ซื้อเพิ่มขึ้น (ผลจากการเปลี่ยนผู้ซื้อ-ผู้ขาย อียูต้องไปซื้อประเทศอื่นแทนรัสเซีย) ทั้งจากค่าขนส่ง เบี้ยประกันภัย ต้นทุนการกลั่น รวมความแล้วนโยบายคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียทำให้คนทั้งโลกต้องซื้อใช้น้ำมันแพงกว่าเดิม .... พลังงานฟอสซิลไม่ขาดแคลนแต่แพงกว่าเดิมมาก เป็นต้นเหตุสำคัญของเงินเฟ้อ สินค้าขึ้นราคา แพงทั้งแผ่นดิน
(ชาญชัย คุ้มปัญญา)
#สงครามยูเครน #น้ำมันแพง #แพงทั้งแผ่นดิน
พฤหัส 23 มิถุนายน
สายการบิน American Airlines แจ้งขอระงับเที่ยวบินไป 4 เมืองเล็กชั่วคราว เนื่องจากนักบินไม่พอ (CNBC)
ก่อนหน้านี้ American, United Airlines และ Delta Air Lines ประกาศลดเที่ยวบินสู่เมืองเล็กเหมือนกัน
วิเคราะห์ : ช่วงนี้เขารับสมัครนักบิน แอร์โฮสเตสกันอีกแล้วนะ
Jerome Powell ประธาน Fed ย้ำเป้าหมายสำคัญคือต้องลดเงินเฟ้อให้จงได้
แม้จะทำให้เศรษฐกิจถดถอยก็ตาม เพราะเงินเฟ้อสำคัญกว่า (Investor’s Business Day)
วิเคราะห์ : ปกติสหรัฐฯ เงินเฟ้อทุกปีอยู่แล้ว การทำ QE อัดฉีดเงินช่วยเหลือสู้โควิด-19 ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แต่มาถึงจุดรุนแรง เงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 40 ปีเพราะรัฐบาลไบเดนกับพวกคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย … ถึงเวลาแล้วที่จะยอมรับว่าต้นเหตุเงินเฟ้อมาจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มาตรการการเงินการคลังช่วยได้แต่เป็นการแก้ปลายเหตุ อ่าน ...
เงินเฟ้ออเมริกาเงินเฟ้อโลกแก้ได้ด้วยมือไบเดน
http://www.chanchaivision.com/2022/06/Biden-great-inflation.html
ส.ว. รีพับลิกันหลายคนสนับสนุนทรัมป์ต่อไป (Huff Post)
ชี้ทรัมป์ไม่ได้ทำผิดใดๆ ตามข้อกล่าวหาขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง
วิเคราะห์ : ประเด็นการไต่สวนทรัมป์เป็นเรื่องควรติดตาม เพราะตอนนี้เป็นที่รู้กันว่าเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบหน้า ไบเดนหรือฝ่ายเดโมแครทแพ้แน่นอน คำถามคือรีพับลิกันจะส่งใครลง “ทรัมป์หรือใคร” ตอนนี้ทรัมป์ยังมีอิทธิพลในพรรคและยังไม่ประกาศว่าจะลงเลือกตั้งอีกหรือไม่ เผลอๆ บางคนในรีพับลิกันอยากให้ทรัมป์ถูกตัดสินว่าทำผิดจริง ... ตำแหน่งประธานาธิบดีมีได้คนเดียว
อีกเหตุผลคือพวกรีพับลิกันไม่อยากให้พรรคเสียชื่อเสียง จึงเห็นว่าต้องช่วยทรัมป์เพื่อรักษาพรรคไว้ก่อน ... พรรคสำคัญกว่า
พุธ 22 มิถุนายน
การประชุม FOMC …..
วิเคราะห์ : เงินเฟ้อเกิดตั้งแต่โควิดอันนี้จริง แต่การคว่ำบาตรรัสเซียทำให้เงินเฟ้อสูงจนเป็นปัญหาใหญ่.. ข้อนี้อเมริกาควรยอมรับ
ข้อมูลที่ปรากฏหลายประเทศตรงกัน เงินเฟ้อมาจากหมวดพลังงานกับอาหารเป็นหลัก
เดือนหน้าขึ้น 50-75 bps ข่าวดีคือผลจากการขึ้นรอบหน้าน่าจะกดเงินเฟ้อให้ต่ำกว่าจุดสูงสุด ดังนั้นในแง่จิตวิทยาความเชื่อมั่นของตลาดจะดีขึ้น
บทความฉบับวันอาทิตย์หน้าจะวิเคราะห์สงครามยูเครนจะจบอย่างไร
ส.ว.คนหนึ่งตั้งประเด็นได้ดี ชี้ว่าในขณะที่การลดเงินเฟ้อเป็นประโยชน์ต่อทุกคน แต่การแก้เงินเฟ้ออาจทำให้บางคนตกงาน ซ้ำเติมให้ชีวิตคนนั้นทุกข์ยากกว่าเดิม เท่ากับนโยบาย Fed ให้ประโยชน์แก่บางคน และให้โทษแก่บางคน (ไม่เท่าเทียมกันนี่หว่า 555)
เท่าที่ฟัง ส.ว.หลายคนที่ถามประธาน Fed ถามเรื่องที่ Fed ให้คำตอบไม่ได้เพราะไม่ใช่อำนาจหน้าที่ จึงเลี่ยงที่จะไม่ตอบ .... ไม่รู้ว่า ส.ว. พวกนั้น “แกล้งทำเป็นไม่รู้” หรือ “ไม่รู้ขอบเขตหน้าที่ Fed” 555
ฟิลิปปินส์จะมีอาหารเพียงพอเลี้ยงคนทั้งประเทศหรือไม่
รัฐบาลเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์รับช่วงเข้ามาบริหารประเทศในภาวะที่เศรษฐกิจโลกปั่นป่วน นโยบายคว่ำบาตรรัสเซียจากสหรัฐฯ และพวก ซ้ำเติมปัญหาเรื่องอาหารให้รุนแรงกว่าเดิม น่าติดตามว่ารัฐบาลจะแก้ไขอย่างไร
#ข่าวฟิลิปปินส์ #ฟิลิปปินส์วันนี้ #ปุ๋ยแพง
http://www.chanchaiworldvision.com/%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-73589-%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88.html
Jim Cramer จาก CNBC อยากให้หุ้นตก ให้สอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจ และจะช่วยลดเงินเฟ้อ (CNBC)
Cramer คิดว่าถ้าหุ้นขึ้นคนจะมีเงินใช้จ่ายไม่อยากไปทำงาน ดังนั้นจะต้องพยายามทำให้หุ้นตก
อังคาร 21 มิถุนายน
เงินเฟ้อคือพิษร้ายสุดต่อเศรษฐกิจโลก สุ่มเสี่ยมเศรษฐกิจถดถอย (CNBC)
Christian Sewing ซีอีโอ Deutsche Bank พูดตรงๆ ว่าการหยุดซื้อก๊าซรัสเซียทันทีทันใด ทำให้สุ่มเสี่ยงเกิดเงินเฟ้อมากขึ้น
วิเคราะห์ : คำพูดของซีอีโอ Deutsche Bank สวนทางรัฐบาลไบเดนที่ปฏิเสธตลอดเวลาว่าเงินเฟ้อไม่ได้เกิดจากนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ
...
ถ้ารัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกชะลอการคว่ำบาตรน้ำมันก๊าซธรรมชาติรัสเซีย เปิดทางให้รัสเซียส่งออกปุ๋ย ปัญหาเงินเฟ้อโลกจะคลายตัวทันที เพราะต้นเหตุเงินเฟ้อรอบนี้มาจาก 2 สาเหตุนี้ คือ น้ำมันแพงกับอาหารแพง การชะลอคว่ำบาตรจะส่งผลให้โลกไม่ต้องรอขึ้นดอกเบี้ยอีกหลายรอบหลายเดือน และไม่ต้องกังวลว่าการขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้เศรษฐกิจถดถอย ...
อ่านรายละเอียดใน “เงินเฟ้ออเมริกาเงินเฟ้อโลกแก้ได้ด้วยมือไบเดน”
เมื่อต้นเหตุเงินเฟ้อมาจากการคว่ำบาตรน้ำมันก๊าซธรรมชาติรัสเซีย วิธีแก้คือระงับหรือชะลอคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียออกไปก่อน ปัญหาเงินเฟ้อสหรัฐกับเงินเฟ้อโลกจะลดลง เศรษฐกิจฟื้นตัวทันที
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
http://www.chanchaivision.com/2022/06/Biden-great-inflation.html
หากเงินเฟ้อลดลงแสดงว่าเศรษฐกิจพ้นจุดต่ำสุดแล้ว แต่... (CNBC)
Ed Yardeni นักลงทุนมือเก๋าอธิบายว่าต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะฟื้นจริงเพราะพื้นฐานเศรษฐกิจอ่อนแอ ให้จับตาราคาน้ำมันกับสินค้าเกษตร
#เงินเฟ้อ #สงครามยูเครน #stagflation
ไบเดนสวนนักข่าว “อย่าแต่งเรื่องขึ้นเอง” หลังถูกจี้ถามเศรษฐกิจกำลังจะถดถอย (Fox News)
วิเคราะห์ : ไบเดนพูดถูกที่ว่าพวกที่คิดว่าจะถดถอยยังไม่เกินครึ่ง แต่ประเด็นที่นักข่าวเป็นห่วงคือนักเศรษฐศาสตร์ที่คิดว่าเศรษฐกิจจะถดถอยมีมากขึ้น ที่น่าเป็นห่วงคือหากเศรษฐกิจอเมริกามีปัญหาจะกระทบต่อทั่วโลก ทุกข์ยากถ้วนหน้า อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจจะถดถอยหรือไม่ เป็นเรื่องปีหน้า
#เงินเฟ้อ #สงครามยูเครน #stagflation
ไปต่อไม่ได้ รัฐบาลอิสราเอลขอยุบสภา คาดว่าอาจเลือกตั้งใหม่ (Time of Israel)
หลังรัฐสภาไม่ผ่านกฎหมายการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ยึดครองซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญยิ่งของการเมืองอิสราเอล
วิเคราะห์ : รัฐบาลเบนเน็ตต์มาจากการรวมพรรคฝ่ายค้านเล็กๆ หลายพรรค รวมทั้งตัวแทนอาหรับ พรรคที่โน้มเอียงสนับสนุนปาเลสไตน์ ด้วยความหวังว่าจะเป็นรัฐบาลแนวทางใหม่ที่มาจากความหลากหลาย (แทนแบบเดิมที่พรรคฝ่ายขวา พวกไซออนนิสต์เป็นแกนนำ) แต่เป็นรัฐบาลได้ปีเดียวแล้วก็ไปต่อไม่ได้ เพราะเมื่อแตะ “ประเด็นสำคัญ” ก็เข้ากันไม่ได้
อ่านบทความครับ ... นโยบายของนายกรัฐมนตรีเบนเน็ตต์
ด้วยการยึดหลักประชาธิปไตยทำให้รัฐบาลเบนเน็ตต์ประกอบด้วยพรรคการเมืองทุกสาย แต่ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจะอยู่ครบเทอม มีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของรัฐบาล
http://www.chanchaivision.com/2021/06/Naftali-Bennett-policy.html
จันทร์ 20 มิถุนายน
ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงคาดการค้ากับสหรัฐฯ จะขยายตัวทำลายสถิติ (CNBC)
ยอดการค้าทวิภาคีจีน-รัสเซีย 5 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 65,8100 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 28.9%
เลขานาโตกับนายกฯ อังกฤษยืนยันชาติตะวันตกจะส่งอาวุธช่วยยูเครนต่อไป (CNN)
เนื่องจากไม่อาจรู้ว่าสงครามจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ จึงต้องเตรียมพร้อมหากต้องทำสงครามอีกหลายปี
#สงครามยูเครน #น้ำมันแพง #แพงทั้งแผ่นดิน
คาดพรรคขวาจัดของเลอเปนจะมีบทบาทในรัฐสภาฝรั่งเศส (Fox News)
วิเคราะห์ : ฝ่ายนิติบัญญัติฝรั่งเศสชุดใหม่จะดำเนินนโยบายแบบขวาจัด ถอยห่างจากเสรีประชาธิปไตย แม้มาครงยังเป็นประธานาธิบดี เรื่องนี้จะส่งผลต่อความเป็นไปของประชาธิปไตยฝรั่งเศส ...
อ่าน ... อนาคตเลอเปนกับเสรีประชาธิปไตยฝรั่งเศส
ครั้งหนึ่งคนฝรั่งเศสจำนวนมากเห็นว่าคนอย่างเลอเปนน่ารังเกียจ แต่บัดนี้พิสูจน์แล้วว่าพวกขวาจัดนี่แหละที่สังคมยอมรับมากขึ้นและอาจได้เป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศส
http://www.chanchaivision.com/2022/05/Le-Pen-and-France-Democracy.html
Janet Yellen รมต.ชี้ว่าน้ำมันแพงไม่ใช่ความผิดของรัฐบาล (Fox Business)
ชี้ว่าบรรษัทน้ำมันต้องเพิ่มกำลังการผลิต ส่วนในระยะยาวต้องใช้พลังงานสะอาด
อาทิตย์ 19 มิถุนายน
แวะมาส่งบทความครับ ...
เงินเฟ้ออเมริกาเงินเฟ้อโลกแก้ได้ด้วยมือไบเดน
เมื่อต้นเหตุเงินเฟ้อมาจากการคว่ำบาตรน้ำมันก๊าซธรรมชาติรัสเซีย วิธีแก้คือระงับหรือชะลอคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียออกไปก่อน ปัญหาเงินเฟ้อสหรัฐกับเงินเฟ้อโลกจะลดลง เศรษฐกิจฟื้นตัวทันที
สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่
https://storage-wp.thaipost.net/2022/06/19-6-65.pdf
บทความของผมจะอยู่หน้า 5
หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่
https://www.thaipost.net/columnist-people/164360/
#เงินเฟ้อ #วิธีแก้เงินเฟ้อ #แพงทั้งแผ่นดิน
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
http://www.chanchaivision.com/2022/06/Biden-great-inflation.html
เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์
ศุกร์ 17 มิถุนายน
การขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ ของสหรัฐฯ จะดึงเม็ดเงินจากทั่วโลกให้ถือครองดอลลาร์ และฝากเงินไว้กับอเมริกา (Atlantic Council)
Josh Lipsky จาก Atlantic Council’s GeoEconomics Center ฟันธงว่าจะส่งผลเสียหายต่อตลาดเงินตลาดทุนประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่
ไตรมาส 4 ปีก่อน (2021) ไฟฟ้าอียูที่ผลิตจากถ่านหินเพิ่ม 19% (AP)
Kyriakos Mitsotakis นายกฯ กรีซประกาศปีนี้จะผลิตถ่านหินเพิ่ม 50%
วิเคราะห์ : ปีที่แล้วยังไม่เกิดสงครามยูเครน ดังนั้นปีนี้ยอดใช้ถ่านหินน่าจะเพิ่มขึ้นอีก
พฤหัส 16 มิถุนายน
ล่าสุด UNHCR เผยคนยูเครนกว่า 14 ล้านอพยพออกจากประเทศ (Al Jazeera)
วิเคราะห์ : ประเด็นคนยูเครนอพยพกลายเป็นปัญหาที่หนักหนาแก่ชาติยุโรปอื่นๆ มากขึ้นทุกที ยิ่งอยู่ยาวจะกลายเป็นประเด็นซับซ้อน ปัญหาซ้อนปัญหา
“ควบคุมน้ำมัน (พลังงาน) เท่ากับควบคุมประเทศนั้น”
ลงตัว อียูซื้อก๊าซ LNG จากอิสราเอลที่ส่งผ่านท่อไปขึ้นที่อียิปต์
อียิปต์จะช่วยเปลี่ยนก๊าซให้อยู่ในรูปของเหลวเพื่อขึ้นเรือส่งอียูอีกทอด
วิเคราะห์ : ที่ควรเข้าใจคืออิสราเอลกับอียิปต์เป็น “ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต” (MNNA) ของสหรัฐฯ ไม่กี่ปีนี้อิสราเอลพบก๊าซธรรมชาติในทะเล ตอนนี้สามารถส่งออกมากขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของการจัดระเบียบพลังงานโลกภายใต้ยุทธศาสตร์อเมริกา ... “ควบคุมน้ำมัน (พลังงาน) เท่ากับควบคุมประเทศนั้น” เดือนหน้าไบเดนเยือนซาอุฯ ต้องติดตามครับ
พุธ 15 มิถุนายน
ด่วน เงินเฟ้อเยอรมันพุ่งสูงสุดในรอบเกือบ 50 ปี
ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนพ.ค.อยู่ที่ 7.9% ต้นเหตุหลักคือราคาพลังงานเชื้อเพลิง รองมาคืออาหาร ซ้ำรอยวิกฤตน้ำมันโลกปี 1973-1974
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
ที่อินเดีย ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคขายส่งสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 แล้ว เดือนพฤษภาคมสูงถึง 15.88% (The Hindu)
อากาศร้อนเป็นอีกเหตุผลซ้ำเติมให้ราคาพืชผัก ธัญพืชราคาสูงขึ้นมาก คาดว่าสินค้าจำเป็นจะแพงต่อไปตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ทรงตัวในระดับสูง
Ben Bernanke อดีตประธานเฟดยกประวัตศาสตร์ชี้ว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น (The Hill)
ทุกครั้งที่เข้าช่วงเลือกตั้ง รัฐบาลจะอัดฉีดให้ตัวเลขเศรษฐกิจดูดี
วิเคราะห์ : แม้ไบเดนไม่ไปต่อ แต่ ส.ส. ส.ว. พรรคเดโมแครทไม่อยากแพ้เลือกตั้ง
#เลือกตั้งกลางเทอมอเมริกา #ขึ้นดอกเบี้ย
ฝรั่งเศสนำเข้าพลังงานรัสเซียมากขึ้น (Arab News)
100 วันสงครามยูเครน ในขณะที่ชาติอียูซื้อรัสเซียลดลง แต่รายงานของ CREA พบว่าฝรั่งเศสกลับนำเข้าเพิ่มขึ้น
วิเคราะห์ : ถ้าไม่ฟังความรอบข้าง รู้จริงรู้ลึก จะไม่รู้ว่ารัฐบาลมาครงทำแบบนี้ 555
อังคาร 14 มิถุนายน
เดือนหน้าอิสราเอลนัดหารือด้านความมั่นคงกับ UAE บาห์เรน โมรอคโค ภายใต้ข้อตกลง Abraham Accord (Sputnik News)
วิเคราะห์ : น่าติดตามครับ กลุ่มนี้มีความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นตามลำดับ
ข่าวดี ราคาข้าสาลี ข้าวโพดอ่อนตัวลงเรื่อยๆ (Arab News)
อินโดฯ คลายมาตรการส่งออกน้ำมันปาล์ม มาเลย์ส่งออกไก่มากขึ้น
วิเคราะห์ พลังงานฟอสซิลไม่ขาดแคลนแต่แพงกว่าเดิมมาก
ตั้งแต่แรกเกิดสงครามยูเครน วิธีหลักที่รัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกใช้คือคว่ำบาตรพลังงานฟอสซิลรัสเซีย เริ่มจากก๊าซธรรมชาติ ต่อด้วยน้ำมันและถ่านหิน แต่หลังสงครามผ่านไป 100 วันพบว่า รัสเซียได้กำไรจากการส่งออกน้ำมันมากกว่าเดิม ทั้งๆ ที่ยอดส่งออกลดลง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะราคาน้ำมันดิบโลกสูงขึ้นเท่าตัว (จากตัว 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็น 120 ดอลลาร์) รัสเซียได้ตลาดเพิ่มจากอินเดีย จีน ฯลฯ ข้อนี้ชี้ว่ามาตรการคว่ำบาตรไม่ได้ผล แต่ที่ร้ายแรงคือราคาน้ำมันโลกสูงขึ้นมาก และจะเป็นเช่นนี้อีกนานหลายปี เพราะต้นทุนการส่งน้ำมันจากผู้ขายสู่ผู้ซื้อเพิ่มขึ้น ทั้งจากค่าขนส่ง เบี้ยประกันภัย ต้นทุนการกลั่น รวมความแล้วนโยบายคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียทำให้คนทั้งโลกต้องซื้อใช้น้ำมันแพงกว่าเดิม .... พลังงานฟอสซิลไม่ขาดแคลนแต่แพงกว่าเดิมมาก เป็นต้นเหตุสำคัญของเงินเฟ้อ สินค้าขึ้นราคา แพงทั้งแผ่นดิน
(ชาญชัย คุ้มปัญญา)
#สงครามยูเครน #น้ำมันแพง #แพงทั้งแผ่นดิน
บิทคอยน์รอฟื้นที่เท่าไหร่ดี 23K หรือ 8K (cointelegraphdotcom)
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เข้าสู่ตลาดหมีแล้ว (AP)
คำถามของผมคือ จริงหรือที่ขึ้นดอกเบี้ยก็แค่เงินเฟ้อได้ ???? ดูเหมือนว่าหลายคนฝากความหวังไว้ที่การขึ้นดอกเบี้ย
#ข่าวเศรษฐกิจโลก #เศรษฐกิจถดถอย #ขึ้นดอกเบี้ย
จันทร์13 มิถุนายน
คาดภายในเดือนกันยาเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 175 bp นั่นหมายความว่าจะต้องมี 1 ครั้งที่ขึ้น 75 bp (Bloomberg)
วิเคราะห์ : ล่าสุดนักวิเคราะห์ปรับมุมมองตามสถานการณ์ล่าสุด คาดสัปดาห์นี้เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 75 bp
เสรีประชาธิปไตยแบบทรัมป์ พูดได้ทุกเรื่องยกเว้นเหตุทรัมป์ปลุกระดมให้บุกสภาเมื่อ 6 มกราคม (Huff Post)
สื่อโซเชียล Truth Social ของทรัมป์ มีคำขวัญว่า ส่งเสริมการสนทนาโลกที่เปิดกว้าง เสรีและจริงใจ แต่แบนทุกคนที่เอ่ยเรื่อง 6 มกราคม
#อิสรภาพ #เสรีภาพ #ภารดรภาพ
เช้านี้บิทคอยน์ร่วงหนัก สู่ระดับ 26,4xx ดอลลาร์ และดูเหมือนยังลงต่อไป
ราคาอาหารโลกขยับสูงขึ้นต่อเนื่อง (CNBC)
FOA เผยราคาข้าวสูงขึ้นต่อเนื่อง 5 เดือนแล้ว ราคาตอนนี้เป็นราคาสูงสุดในรอบปี แม้ปีนี้ผลผลิตมากพอก็ตาม
Sonal Varma จาก Japanese bank Nomura คาดหลายประเทศจะลดการส่งออก เน้นเก็บกินในประเทศ
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
soft landing เป็นไปได้ถ้าเร่งขยาย supply side โดยแก้ปัญหา supply chains ให้ราคาน้ำมันกับอาหารลดลง (Bloomberg)
Ben Bernanke อดีตประธานเฟดเห็นว่าเศรษฐกิจอาจไม่ถดถอยหรือถดถอยเบาๆ ในทางกลับกันสถานการณ์จะย่ำแย่กว่านี้ถ้าไม่สามารถแก้ปัญหา
อาทิตย์12 มิถุนายน
แวะมาส่งบทความครับ ...
วิพากษ์กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF)
รัฐบาลไบเดนพูดถึงประโยชน์ของ IPEF แต่มีข้อสงสัยว่าชาติสมาชิกคู่เจรจาจะได้ประโยชน์ทางการค้าเศรษฐกิจแค่ไหน มีวาระซ่อนเร้นหรือไม่
สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่
https://storage-wp.thaipost.net/2022/06/12-6-65.pdf
บทความของผมจะอยู่หน้า 5
หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่
https://www.thaipost.net/columnist-people/159685/
#IPEF
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์
ศุกร์ 10 มิถุนายน
การปลุกระดมเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2020
ในเวลาเดียวกับที่รัฐสภากำลังประชุมรับรองไบเดน ทรัมป์เรียกร้องให้คนที่สนับสนุนตนต่อสู้อย่างเต็มที่ หาไม่แล้วจะไม่มีประเทศเหลืออยู่เลย (“We fight like hell, and if you don’t fight like hell, you’re not going to have a country anymore.”)
ในที่สุดกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งส่วนหนึ่งเป็นพวกหัวรุนแรงที่ถือ “ธงทรัมป์” (“Trump” flags) จึงบุกเข้ารัฐสภา
กลุ่มผู้ชุมนุมเหล่านี้เตรียมตัวมานานแล้วพร้อมกับการปลุกระดม การยั่วยุทำมาเป็นเดือนตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง ทรัมป์ย้ำเรื่อยมาว่าตนถูกโกง
#วิกฤตประชาธิปไตยอเมริกา #ไต่สวนทรัมป์
ล้มประชุมรัฐสภา ทำไมต้องเป็นวันที่ 6 มกราคม 2020
ย้อนหลังวันที่ 6 มกราคม 2020 เป็นวันประชุมรัฐสภาเพื่อนับคะแนน electoral votes ณ ตอนนั้นผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสรุปแล้วว่าทรัมป์แพ้ไบเดน การนับคะแนน electoral votes ของรัฐสภา “เป็นขั้นตอนตามกฎหมาย และรับรองผลการเลือกตั้ง”
แต่ทรัมป์ยังยืนว่าตนถูกโกงเลือกตั้ง นี่คือเหตุผลเบื้องต้นว่าต้องล้มประชุมวันที่ 6 มกราคม
#วิกฤตประชาธิปไตยอเมริกา #ไต่สวนทรัมป์
เหตุผู้ชุมนุมบุกสภาเมื่อ 6 มกราคม 2020 อาจเป็นแผนล้มเลือกตั้งของทรัมป์ (Huff Post)
การไต่สวนจะเผยให้เห็นหลายข้อมูลที่คนอเมริกันไม่เคยรู้มาก่อน
วิเคราะห์ : การไต่สอนเหตุบุกสภาจะเผยให้เห็นอีกภาพของการเมืองอเมริกันอย่างล้ำลึก
#วิกฤตประชาธิปไตยอเมริกา #ไต่สวนทรัมป์
พฤหัส 9 มิถุนายน
ไบเดนขอชาติพันธมิตรไม่นำเข้าน้ำมันรัสเซียและตัวเองจะคว่ำบาตรด้วย ปรากฏว่าสหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันจากรัสเซียเพิ่ม 2 เท่า (RT)
ไบเดนประกาศไม่นำเข้าเชื้อเพลิงทุกชนิดจากรัสเซียเมื่อต้นเดือนมีนาคม ปรากฏว่าเดือนมีนาคมสหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันรัสเซียเพิ่ม 2 เท่าจาก 2,325 เป็น 4,218 ล้านบาร์เรลเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ เป็นข้อมูลจาก US Department of Energy
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
ถ้าคุมราคาน้ำมันไม่ได้ก็แก้เงินเฟ้อไม่ได้และจะลงเอยที่เศรษฐกิจถดถอย (CNBC)
Jim Cramer จาก CNBC กล่าวว่าตนไม่เชื่อเรื่อง soft landing ถึงจุดหนึ่งผู้บริโภคจะลดการใช้น้ำมันเอง ณ ตอนนั้นเศรษฐกิจจะถดถอย
วิเคราะห์ : ที่ผ่านมารัฐบาลไบเดนพูดวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจถดถอยหลายแนวทาง ความจริงแล้วต้นเหตุสำคัญคือรัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกคว่ำบาตรพลังงานรัสเซีย
อดีตประธานาธิบดีทรัมป์ ลูกชายกับลูกสาวต้องขึ้นศาลเดือนหน้า (AP)
รอบนี้ไต่สวนความไม่โปร่งใสของธุรกิจครอบครัว (ขณะที่เป็นประธานาธิบดี) ที่ผ่านมาทรัมป์พยายามเลี่ยงขึ้นศาล หลีกเลี่ยงที่จะให้ความร่วมมือ และชี้ว่าฝ่ายตรงข้ามใช้วิธีนี้ทำลายตนทางการเมือง
ประเด็นไต่สวนรอบนี้คือทรัมป์อ้างมูลค่าทรัพย์สินเกินจริง
วิเคราะห์ : ทรัมป์เคยกล่าวว่าทรัพย์สินของตนมีมูลค่าแค่ไหน “ขึ้นกับ ‘ตัวเขาคิดว่า’ มันน่าจะสูงถึงเท่าไหร่” จะสังเกตว่าทรัมป์พยายามแหกกฎระเบียบต่างๆ เอาความคิดของตนเองเป็นที่ตั้ง
#ทรัมป์
ยุโรปมีหนาว สำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดฤดูหนาวนี้ยุโรปอาจต้องขั้นต้องปันส่วนพลังงาน (oilpricedotcom)
เริ่มจากปันส่วนก๊าซธรรมชาติในภาคอุตสาหกรรมก่อน หวังว่าปีนี้จะไม่หนาวมากหนาวนาน
#สงครามยูเครน #น้ำมันแพง #แพงทั้งแผ่นดิน
ล่าสุด คนอเมริกันซื้อน้ำมันที่ราคาเฉลี่ย 45 บาทต่อลิตร (5 ดอลลาร์ต่อแกลลอน)
เป็นสถิติใหม่ล่าสุด นับจากต้นปีน้ำมัน WTI ขึ้น 57% น้ำมันคงคลังในหลายประเทศทยอยลดลงเรื่อยๆ Natasha Kaneva จาก JPMorgan คาดราคาอาจวิ่งไปถึง 6.20 ต่อแกลลอนในเดือนสิงหาคมนี้
วิเคราะห์ : ความจริงแล้วอุปทานน้ำมันโลกมีพอเพียง แต่ที่เป็นปัญหาเนื่องจากหลายประเทศเปลี่ยนผู้ซื้อกระทันหัน ระบบขนส่งการกลั่นตอบสนองไม่ทัน เป็นเหตุให้หลายประเทศส่อแววน้ำมันขาดแคลน
#สงครามยูเครน #น้ำมันแพง #แพงทั้งแผ่นดิน
พุธ 8 มิถุนายน
US Energy Information Administration เผยตอนนี้ LNG ที่ยุโรปนำเข้านั้นเกือบครึ่งมาจากสหรัฐฯ (Al Arabiya)
วิเคราะห์ : ตั้งแต่สมัยทรัมป์เรียกร้องให้ยุโรปนำเข้าก๊าซจากตนแทนรัสเซีย แม้ก๊าซอเมริกาจะแพงกว่าของรัสเซียมากก็ตาม ... เรื่องนี้สำเร็จในรัฐบาลต่อมาคือรัฐบาลไบเดนนี่เอง
.... บทความที่ผมเคยอธิบายไว้ “สหรัฐต้องการให้ยุโรปซื้อพลังงานจากตน” รัฐบาลสหรัฐเหมือนเซลส์แมนกำลังใช้พลังอำนาจทุกอย่างที่ตนมีเพื่อกดดันให้ยุโรปซื้อก๊าซธรรมชาติจากตนด้วยสารพัดเหตุผลทั้งด้านความมั่นคงกับเรื่องเงินๆ ทองๆ
#สหรัฐส่งออกก๊าซธรรมชาติ #สงครามยูเครน #น้ำมันแพง
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 9216 วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565)
http://www.chanchaivision.com/2022/02/Buy-LNG-from-US.html
สหรัฐฯ เอาไม่อยู่ นำเข้าสินค้าจีนพุ่งทำสถิติสูงสุดอีกแล้ว (Asia Times)
วิเคราะห์ : ทรัมป์พยายามสกัดสินค้าจีนด้วยการขึ้นกำแพงภาษี 20-30% แต่พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผล ผมขอเดาต่อว่าจะเป็นเช่นนี้อีกอย่างน้อย 3 ปี
#เงินเฟ้อ #อเมริกาขาดดุลการค้า #stagflation
2 พรรคใหญ่สหรัฐฯ ร่วมเสนอร่างกฎหมายควบคุมคริปโทฯ (CNBC)
วิเคราะห์ : คริปโทฯ ที่ชี้ว่าเป็นโลกการเงินที่เป็นอิสระไร้การควบคุมจากรัฐบาล ที่สุดแล้วรัฐบาลปล่อยเป็นเช่นนี้ไม่ได้แม้กระทั่งสหรัฐฯ ที่พยายามอ้างว่าเป็นผู้นำโลกเสรีประชาธิปไตย
ความจริงแล้วคำว่า “เสรี” “เสรีภาพ” ล้วนเป็นเสรีภาพภายใต้กฎหมายทั้งสิ้น เสรีภาพสื่ออเมริกาอยู่ภายใต้กฎหมาย สหรัฐฯ มีกฎหมายหมิ่นประมาทหรือแม้กระทั่งแสดงความอาฆาตมุ่งร้าย .... เสรีภาพที่ไร้การควบคุมจึงไม่มีจริง ทุกประเทศมีกฎหมายควบคุมทั้งสิ้น ต่างกันที่เสรีมากหรือน้อยกว่าเท่านั้น … แปลกแต่จริงที่บางคนบางกลุ่มบางสื่อพยายามชี้ว่ามีเสรีภาพไม่จำกัด
#เสรีภาพ #อิสรภาพ #ภราดรภาพ
Janet Yellen รมต.คลังสหรัฐฯ ย้ำต้องลดเงินเฟ้อลงที่ไม่กระทบการจ้างงาน (Fox Business)
นักวิเคราะห์ชี้ Yellen ไม่เสนอวิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจน คาดราคาสินค้าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
เตรียมรับแรงกระแทก ธนาคารโลกคาดที่สุดแล้วเศรษฐกิจหลายประเทศจะถดถอย (Huff Post)
ปีที่แล้วเศรษฐกิจโลกโต 5.7% ล่าสุดปรับเหลือ 2.9% ส่วนปี 2023-24 คาดว่าจะโตแถว 3% เฉพาะสหรัฐฯ คาดปีนี้โต 2.5% ลดปีที่แล้วที่โต 5.7%
วิเคราะห์ : ย้ำอเมริกาเป็นจักรกลใหญ่ของเศรษฐกิจโลก
#ข่าวเศรษฐกิจโลก #เศรษฐกิจถดถอย
ธนาคารโลกปรับลดเศรษฐกิจโลกโตเหลือ 2.9% (Bloomberg)
ภาพรวมโลกเงินเฟ้อสูงกว่าปกติ เศรษฐกิจเติบโตน้อยกว่าปกติ
อังคาร 7 มิถุนายน
ไปเอาของเขามาครับเพื่อนๆ ...
เหตุผลที่คนอเมริกันนิยมสินค้าจีนเพราะราคาถูก คุณภาพยอมรับได้ .... สปป.ลาวก็ทำนองเดียวกัน ผมคาดว่าปีนี้จีนจะส่งออกทั่วโลกได้มากขึ้นอีก
Ben Bernanke อดีตประธานเฟดคาดปีหน้าสหรัฐฯ จะเข้าสู่ stagflation และจะเป็นเช่นนี้ 1-2 ปี (Xinhua)
เงินเฟ้อยังสูงแม้ลดลง การจ้างงานดีขึ้นเล็กน้อย เศรษฐกิจไม่ค่อยโต
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญยังคงเถียงกันอยู่ว่าจะเกิดหรือไม่ อย่างไร
#เงินเฟ้อ #เศรษฐกิจอเมริกา #stagflation
คาดผลผลิตข้าวสาลีออสเตรเลียปีนี้จะออกมาดีมาก ได้ถึง 30.3 ล้านตัน (Bloomberg)
เป็นอีกปีที่ผลผลิตสูงมาก เป็นลำดับ 4 ของสถิติ และคาดว่าปีนี้ออสเตรเลียจะส่งออกสินค้าเกษตร 46,900 ล้านดอลลาร์ สูงสุดเท่าที่เคยทำมา
วิเคราะห์ : เป็นอีกปีสินค้าเกษตรขายได้ราคา
จันทร์ 6 มิถุนายน
ยิงมาก็ยิงไป เช้านี้เกาหลีใต้กับสหรัฐฯ ทดสอบยิงขีปนาวุธ 8 ลูก ตอบโต้ที่เกาหลีเหนือยิงก่อน 8 ลูก (Yonhap)
เมื่อวานเกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธหลายชนิดรวมทั้ง KN-23 ที่พัฒนาจาก Iskander ของรัสเซีย
ค้าปลีกอเมริกาที่ขายคนรายได้น้อย พบว่าคนซื้อลดลงและเน้นซื้อสินค้าที่จำเป็นและราคาถูกเท่านั้น (AP)
ส่วนร้านค้าที่ขายคนรวยยังไปได้สวย เป็นเช่นนี้มา 2 เดือนแล้ว ส่วนหนึ่งเกิดจากรัฐบาลยุติให้เงินช่วยโควิด-19 ระบาด
#เศรษฐกิจอเมริกา #สินค้าแพง
ร้านค้าอย่าง Dollar Tree กับ Dollar General ยอดขายเพิ่มขึ้นมาก (AP)
แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เครื่องชี้ว่าเศรษฐกิจดี ตรงข้ามคนอเมริกันเงินน้อยลง จำต้องไปซื้อของถูกมากใช้
Dollar Tree ร้านประเภททุกอย่าง 30 บาท ฯลฯ คนอเมริกัน 1 ใน 5 (66 ล้านคน) กำลังประสบปัญหาการเงินอย่างหนัก
อาทิตย์ 5 มิถุนายน
เบื้องหน้าเบื้องหลังการสร้าง IPEF ของไบเดน
ฝ่ายสหรัฐคิดเสมอว่าทำอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศสูงสุด รวมทั้งการต่อต้านจีน IPEF เป็นความพยายามรอบใหม่ ประกาศชัดขอสร้างกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกที่ตนเป็นผู้นำ
สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่
https://storage-wp.thaipost.net/2022/06/5-6-65.pdf
บทความของผมจะอยู่หน้า 5
หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่
https://www.thaipost.net/columnist-people/155164/
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์
เสาร์ 4 มิถุนายน
รัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมคุมเข้มห้ามนำเข้าสินค้าจีนจากซินเจียง (Blommberg)
เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าสินค้าดังกล่าวไม่ได้บังคับกดขี่แรงงาน กฎหมายใหม่จะเริ่มมีผล 21 มิถุนายนนี้ แต่ยังไม่ชัดว่าจะส่งผลกระทบต่ออเมริกาหรือจีนมากน้อยแค่ไหน
วิเคราะห์ : น่าติดตามครับ การปฏิบัติจริงจะเป็นอย่างไร ความซับซ้อนของกระบวนการผลิตสินค้าที่ต้องใช้ชิ้นส่วนจากหลายแหล่ง ที่ผ่านมาจีนปฏิเสธข้อกล่าวหาของสหรัฐฯ เรื่อยมา
รัฐนิวยอร์คผ่านร่างกฎหมายห้ามติดตั้งเครื่องขุดเหมืองคริปโทฯ เป็นเวลา 2 ปี (Bloomberg)
ด้วยเหตุผลกินพลังงานมาก แต่เหมืองที่มีอยู่แล้วยังเปิดทำการต่อไปได้
วิเคราะห์ : ตอนนี้น้ำมัน WTI 120 ดอลลาร์ยังคุ้มที่จะขุดไหม ...
ศุกร์ 3 มิถุนายน
เซเลนสกีกล่าวว่ารัสเซียควบคุม 20% ของพื้นที่ยูเครนแล้ว หลังสงครามผ่านไป 100 วัน (The National News)
ตอนนี้รัสเซียให้ความสำคัญกับการยึดด้านตะวันออก หลังถอนทหารที่บุกกรุงเคียฟ
#สงครามยูเครน #ยูเครนตะวันออก
เลขาธิการนาโตกล่าวขอให้เตรียมรับมือสงครามยูเครนแบบยาวๆ (Channel News Asia)
ชี้ว่ากำลังเข้าสู่การรบยืดเยื้อค่อยๆ บั่นทอนข้าศึก (a war of attrition) ทั้งยูเครนกับรัสเซียต่างสูญเสียหนัก ย้ำนาโตยังสนับสนุนให้ยูเครนทำสงครามต่อไป
#สงครามยูเครน #สงครามตัวแทน #สงครามเย็นใหม่
เงินเฟ้อเกาหลีใต้พุ่งสูงสุดในรอบเกือบ 14 ปีแล้ว (Yonhap)
เหตุหลักคือราคาพลังงานกับอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น
วิเคราะห์ : เหมือนกับหลายประเทศที่ต้นเหตุเงินเฟ้อมาจากหมวดพลังงานกับอาหาร
พฤหัส 2 มิถุนายน
ไบเดนเผยเพิ่งได้รายงานว่านมผมขาดตลาดทั่วประเทศ (AP)
วิเคราะห์ : ความจริงแล้วเริ่มเกิดปัญหานมผงขาดตลาดกว่า 2 เดือนแล้ว กระทรวงที่รับผิดชอบต้องทราบและแก้ไขตั้งแต่แรก ไม่ควรปล่อยให้บานปลายกลายเป็นปัญหาระดับประเทศ และต้องให้ประธานาธิบดีมาจัดการด้วยตัวเอง
รัฐบาลสหรัฐฯ หวังให้ชาติพันธมิตร 5 ประเทศปกป้องไต้หวัน (Nikkei Asia) :
ตามความคิดของรัฐบาลสหรัฐฯ หวังให้ชาติพันธมิตร 5 ประเทศอันได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์และไทย ร่วมกันป้องกันไต้หวัน หากจีนรุกรานไต้หวันซึ่งหลายฝ่ายคิดว่าจีนจะบุกไต้หวันในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
พุธ 1 มิถุนายน
นับจากเริ่มสงครามยูเครน การค้าระหว่างประเทศที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินรูเบิลกับหยวนเพิ่มขึ้น 1,067% (Bloomberg)
มีมูลค่าเกือบ 4 พันล้านดอลลาร์ต่อเดือน สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับจีนได้เป็นอย่างดี
------------------
28 มิถุนายน 2565
ผู้ชม 244 ครั้ง